ดูแลตนเองอย่างไร ให้ห่างไกลโรคอ้วนอีกหนึ่งปัญหาทางสุขภาพ
โรคอ้วนจัดเป็นอีกหนึ่งปัญหาทางสุขภาพ ที่ในประเทศไทยมีอัตราผู้ป่วยโรคนี้เป็นจำนวนไม่น้อย รวมไปถึงพบได้ในทุกเพศและทุกช่วงวัยอีกด้วย ทั้งนี้มีเหตุผลมาจากหลากหลายพฤติกรรม ที่ส่งผลเสียต่อสุขภาพและทำซ้ำบ่อยๆ จนสะสมและกลายเป็นโรคอ้วนได้ในที่สุด นอกจากนี้ผลจากการเป็นโรคอ้วนก็จะส่งต่อไปยังสภาวะการเกิดโรคแทรกซ้อนอื่นๆ ซึ่งสถิติทางการแพทย์นั้นระบุไว้ว่า สาเหตุของโรคที่ทำให้เสียชีวิตได้ในปัจจุบันนั้น ล้วนมีผลมาจากการเกิดภาวะโรคอ้วนก่อนหน้า แทบทั้งสิ้นดังนั้นโรคอ้วนจึงนับได้ว่าเป็นอีกหนึ่งภัยร้ายที่อาศัยอยู่กับผู้คนโดยรอเปิดเผยตัวเมื่อถึงเวลาที่ต้องการ
สำหรับ ความหมายของโรคอ้วน (Obesity) ที่ถูกต้องนั้น คือการมีไขมันสะสมเกินกว่าความจำเป็นสะสมอยู่ภายในร่างกาย โดยมีสาเหตุมาจากการได้รับสิ่งต่างๆเข้ามาในร่างกายปริมาณมากและไม่ได้ถูกนำไปใช้เป็นพลังงานหรือเผาผลาญออกไป จึงกลายมาเป็นไขมันสะสมภายในร่างกายที่เพิ่มขึ้นเรื่อย จนกลายมาเป็นโรคที่มีชื่อเรียกว่า โรคอ้วน นั่นเอง
ปัจจุบัน สภาวะที่เกิดจากโรคอ้วนนั้นแบ่งออกเป็น 2 ชนิดด้วยกัน
- ภาวะอ้วนลงพุง สภาวะนี้จะเกิดการสะสมไขมันปริมาณมากที่บริเวณท้อง
- ภาวะอ้วนทั้งตัว มีการกระจายตัวของไขมันเกาะอยู่ทั่วทั้งร่างกาย
ซึ่งทั้งสองสภาวะนี้ล้วนส่งผลเสียให้กับร่างกายทั้งคู่ อีกทั้งยังเป็นสาเหตุของโรคต่างๆ ที่จะตามมา เช่น ข้อเข่าเสื่อม, ความดันโลหิตสูง, หลอดเลือดหัวใจและสมองตีบ, เบาหวาน เป็นต้น นอกจากนี้ยังผลผลไปถึงความเสี่ยงของ อัมพฤกษ์ อัมพาต อีกด้วย
ทั้งนี้เราจะสามารถรับรู้ว่าเข้าสู่สภาวะโรคอ้วนได้ด้วยการคิดคำนวณค่าดัชนีมวลกาย(BMI) โดยวิธีการคิดนั้น ทำได้จากการใช้ น้ำหนักตัว (กิโลกรัม) หารด้วย ส่วนสูง (เมตร) ยกกำลัง 2
- หาค่าดัชนีมวลกายอยู่ที่ 23 – 24.90 หมายถึงน้ำหนักเริ่มเกินจากเกณฑ์
- ค่าดัชนีมวลกายอยู่ที่ 25 – 29.90 หมายถึงเข้าสู่สภาวะโรคอ้วน ระดับที่ 1
- ค่าดัชนีมวลกายอยู่ที่ 30 ขึ้นไปแสดงถึงโรคอ้วนระดับที่ 2 ปัจจัยที่ส่งผลให้เกิด
โรคอ้วน
ถึงแม้คนทั่วไปจะเข้าใจว่าโรคอ้วนนั้นเกิดจากพฤติกรรมการทานอาหาร ที่ไม่คำนึงถึงความเหมาะสมของระดับโภชนาการต่างๆ แต่อย่างไรก็ตาม โรคอ้วนนั้น มีปัจจัยอื่นที่สามารถส่งผลให้เกิดขึ้นได้เช่นกัน โดยสรุปได้ดังนี้
- ระบบเผาผลาญของร่างกายทำงานได้น้อย
- โรคที่เป็นอยู่ ก็สามารถส่งผลต่อภาวะความอ้วนได้ เช่น ไทรอยด์
- ยา การต้องรับประทานยาบางชนิดก็อาจส่งผลให้ความรู้สึกต้องการอาหารเพิ่มขึ้น เช่น ยาคุมกำเนิด, ยารักษาโรคซึมเศร้า เป็นต้น
- กรรมพันธุ์ สามารถส่งผลได้เช่นกัน โดยมีต้นเหตุมาจากโรคต่างๆ ที่เป็นกันทุกคนในครอบครัว
- เครื่องดื่ม ไม่ว่าจะแอลกอฮอล์ หรือน้ำอัดสามารถสร้างน้ำตาลในเลือดได้ และกลายเป็นสาเหตุที่ทำให้อ้วน
- ผลข้างเคียงของการใช้ยาลดน้ำหนักหรือยาลดความอ้วน เป็นอีกหนึ่งสาเหตุที่เกิดขึ้นมากในปัจจุบัน
สิ่งเหล่านี้ล้วนเป็นปัจจัยเพิ่มเติมเข้ามานอกเหนือจากการรับประทานอาหาร
วิธีป้องกันไม่ให้เกิดโรคอ้วน สามารถทำได้โดยการมุ่งเน้นไปที่การลดความอ้วนหรือลดน้ำหนักส่วนเกินให้อยู่ในเกณฑ์ปกติอยู่เสมอ ทั้งการป้องกันควรเริ่มต้นจากตัวเองด้วยการปรับพฤติกรรมต่างๆ ในชีวิต ตามหลักวิธีการดังนี้
- การคุมอาหาร ลดปริมาณอาหารที่กินในแต่ละวันให้อยู่ในปริมาณที่เหมาะสมเพียงพอกับที่ร่างกายจะดึงออกมาใช้หรือเผาผลาญจนหมดได้ โดยไม่เหลือเป็นส่วนเกินหรือสะสมภายในร่างกาย เฉลี่ยแล้วนับได้ประมาณ 500 แคลอรี่ต่อ 1 วัน
- ทานอาหารให้ครบทั้ง 5 หมู่เพื่อให้ได้ปริมาณสารอาหารที่เพียงพอกับความต้องการของร่างกายในแต่ละวัน แต่ต้องอยู่ในปริมาณที่ไม่เกินจาก 500 แคลอรี่
- หลีกเลี่ยงอาหารทอดหรืออาหารที่ให้ปริมาณน้ำตาลสูง
- รับประทานอาหารให้ครบทั้ง 3 มื้อและตรงเวลา จะเป็นการช่วยให้ ไม่เกิดความหิวมากกว่าปกติ โดยใช้สัดส่วน เช้า2 : เที่ยง1 : เย็น1
- เคี้ยวอาหารช้า ๆ เพื่อให้สมองสั่งการร่างกายให้เกิดความรู้สึกอิ่ม
- วิธีการปรุงอาหาร ควรเลือกการนึ่งหรือการต้มแทนการผัดหรือทอด
- ออกกำลังกายเป็นประจำเพื่อช่วยลดความอ้วนที่เกิดขึ้นหรือไขมันส่วนเกินที่สะสมอยู่ภายในร่างกาย ทั้งนี้ควรออกกำลังกายอย่างต่ำวันละ 30 นาที 5-6 วันต่อสัปดาห์
- เพิ่มกิจกรรมให้ตัวเองอาทิเช่นลุกออกจากเก้าอี้ทำงานเพื่อยืดเส้นยืดสาย, เดินขึ้นบันไดแทนขึ้นลิฟต์, ระยะทางที่ไม่ไกลมากควรเดินแทนการขึ้นรถประจำทาง รวมไปถึงทำงานบ้าน ทำจัดสวน ก็จะช่วยให้ร่างกายเกิดความเคลื่อนไหวจำนวนมาก เป็นการเสริมสร้างกล้ามเนื้อและเผาผลาญพลังงานที่สะสมในร่างกายออกไปอีกด้วย
- พักผ่อนให้เพียงพอ การพักผ่อนที่เพียงพอมีส่วนช่วยลดความอ่อนล้าหรือความเหน็ดเหนื่อยทำให้ออกกำลังกายได้ดีมากขึ้น
- น้ำเปล่า เหมาะสมที่สุดสำหรับผู้ที่ต้องการลดความอ้วนหรือลดน้ำหนักสามารถทานในปริมาณเท่าไหร่ก็ได้ในแต่ละวันยิ่งเยอะยิ่งดี
ปัจจุบันถึงแม้โรคอ้วนจะเป็นปัญหากับผู้คนจำนวนไม่น้อย แต่ทั้งนี้หากรู้จักใส่ใจในอาหารเลือกทานให้ถูกต้องและเหมาะสม ออกกำลังกาย อย่างสม่ำเสมอเพื่อลดไขมันส่วนเกินรวมไปถึงปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการดำเนินชีวิตเสริมสร้างให้เกิดความแข็งของร่างกายเป็นพื้นฐาน หากสามารถปฏิบัติตามวิธีการง่ายๆเหล่านี้ได้ก็จะเป็นการช่วยป้องกันไม่ให้เกิดภาวะโรคอ้วน และส่งผลต่อสุขภาพที่ดีในระยะยาวต่อผู้ปฏิบัติ อีกด้วย ดูแลตนเองอย่างไร ให้ห่างไกลโรคอ้วนอีกหนึ่งปัญหาทางสุขภาพ