อาหารซ่อมแซมกล้ามเนื้อ คืออาหารประเภทไหน

อาหารซ่อมแซมกล้ามเนื้อ คืออาหารประเภทไหน fitnessinw

อาหารซ่อมแซมกล้ามเนื้อ คืออาหารประเภทไหน

รู้กันดีอยู่แล้วว่าโปรตีนมีส่วนสำคัญในการสร้างกล้ามเนื้อและซ่อมแซมส่วนที่สึกหรอของร่างกาย แน่นอนว่าโปรตีนก็ยังเป็น อาหารซ่อมแซมกล้ามเนื้อ ที่หารับประทานได้ง่ายและดีที่สุดไม่ว่าจะเป็นในรูปแบบของอาหารธรรมชาติ หรือ โปรตีนสกัดในรูปแบบต่างๆ ซึ่งการรับประทานโปรตีนเป็นประจำจะช่วยให้กล้ามเนื้อแข็งแรง ซ่อมแซมตัวเองได้ไว นอกจากโปรตีนแล้ว คาร์โบไฮเดรต ยังมีส่วนสำคัญในการซ่อมแซมกล้ามเนื้อด้วย ซึ่งหลายคนยังเข้าใจผิดเกี่ยวกับเรื่องนี้ว่าจะต้องเน้นการรับประทานโปรตีนมากกว่า คาร์โบไฮเดรต ในการซ่อมแซมกล้ามเนื้อ แต่เพราะหลายคนอาจจะลืมไปว่าในการออกกำลังกายแต่ละครั้งกล้ามเนื้อ ก็อาจจะได้รับความเสียหาย

ดังนั้นการรับประทาน อาหารซ่อมแซมกล้ามเนื้อ และเสริมสร้างในสัดส่วนที่พอดี ก็จะทำให้กล้ามเนื้อแข็งแรงโดยเฉพาะในกลุ่มนักกีฬาหลังจากที่ออกกำลังกาย หรื อฝึกซ้อมกันมาอย่างหนัก รวมทั้งหลังการแข่งขันก็จะต้องรับประทานอาหารเพื่อฟื้นฟูร่างกาย เพราะจะทำให้กลไกการทำงานของร่างกายเร่งการสร้างโปรตีนและไขมันกลับคืนสู่กล้ามเนื้อ โดยเฉพาะการสร้างไกลโคเจน ซึ่งจะต้องใช้อาหารประเภทคาร์โบไฮเดรตเป็นหลัก เพราะร่างกายไม่สามารถสร้างสารชนิดนี้เองได้ และความสำคัญของสาร ไกลโคเจน คือจะทำให้โปรตีนและไขมันชนิดดีกลับเข้าสู่กล้ามเนื้อได้ดีขึ้น โดยปริมาณที่นักโภชนาการแนะนำนั้นจะอยู่ที่ 0.45 กิโลกรัมต่อน้ำหนักตัวในการคำนวณปริมาณของคาร์โบไฮเดรตในการรับประทานเป็น  อาหารซ่อมแซมกล้ามเนื้อ  จะให้พลังงานประมาณ 300-450 แคลอรี่แต่จะไม่รับประทานติดกันหลายวันเกินความจำเป็น

ผู้ที่ออกกำลังกายหรือเป็นนักกีฬาการเลือกอาหารในกลุ่มคาร์โบไฮเดรต เพื่อซ่อมแซมกล้ามเนื้อและฟื้นคืนกำลังให้กับร่างกายนั้นโดยส่วนใหญ่ก็จะเน้นพวกซีเรียลโฮลเกรนรับประทานคู่กับนม หรือรับประทานกล้วยและอาหารที่มีคาร์โบไฮเดรตในปริมาณตามสัดส่วน ที่นักโภชนาการแนะนำ รวมทั้งรับประทานผักผลไม้หรือน้ำผลไม้จากธรรมชาติ เพื่อเสริมวิตามินและเกลือแร่ชดเชยในส่วนที่เสียไป หากสนใจข้อมูลดีๆเกี่ยวกับการออกกำลังกายโภชนาการด้านต่างๆ ที่เกี่ยวกับการเสริมสร้างกล้ามเนื้อติดตามได้ที่นี่มีคำแนะนำที่มีประโยชน์ให้กับนักอ่านได้ติดตาม รวมทั้งผู้ที่สนใจการออกกำลังกายก็จะมีข้อมูลประกอบที่สามารถใช้เป็นแนวทางได้

ซึ่ง อาหารซ่อมแซมกล้ามเนื้อ  ก็ยังมีความสำคัญและควรรับประทานในปริมาณที่พอเหมาะ อย่างที่ได้แนะนำไปในเบื้องต้น ซึ่งหากคำนวณการรับประทานอาหารให้ดี แบ่งสัดส่วนระหว่างโปรตีนและคาร์โบไฮเดรต รับประทานในแต่ละวัน กล้ามเนื้อก็จะได้ทั้งความแข็งแรงจากอาหารเสริมสร้าง และในส่วนที่สึกหรอไปนั้นก็จะมีอาหารซ่อมแซมเข้ามาเสริม และหากมีการออกกำลังกายเสริมสร้างกล้ามเนื้อในแบบที่ถูกต้องจากผู้เชี่ยวชาญ และมีวินัยในการดูแลตัวเองทั้งเรื่องอาหารการกินการออกกำลังกาย รับรองได้เลยว่าร่างกายจะแข็งแรงกล้ามเนื้อไม่สึกหรอไปตามวัยแน่นอน

อาหารเสริม

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *